ขาโก่ง ( bowlegs ) คือสภาพที่เข่าโค้งออก โดยที่ แนวของกระดูกต้นขา และ ขา ทำมุมชี้ออกด้านนอก โดยสาเหตุอาจมีได้หลายประการ
ขาโก่งแบบปกติ (physiologic bowlegs)
ในเด็กอายุ น้อยกว่า 2 ปี อาจพบว่ามีลักษณะของขาโก่งได้ (เข่าโค้งออกเล็กน้อย) เรียกว่า ขาโก่งแบบปกติ (physiologic bowlegs) กระดูกขาปกติ แต่ที่ดูโค้งออกเพราะเกิดจากการตึงของเอ็นและการดึงรั้งของกล้ามเนื้อด้านในของข้อเข่า และการหมุนตัวของกระดูกขา ในระหว่างที่อยู่ในครรภ์ จนเมื่อเด็กเริ่มยืน เดิน กล้ามเนื้อเริ่มออกแรงในลักษณะที่สมดุลขึ้น เอ็นรอบข้อจะปรับตัวเอง การดึงและรั้งของเอ็นต่างๆจะน้อยลง ร่วมกับตัวกระดูกขาจะเริ่มหมุนออกสู่ภาวะปกติลักษณะของขาโก่งก็จะเริ่มน้อยลง จนปกติ ภายในช่วงอายุ 2 ปี
ขาโก่ง ฝังเข็มแก้ขาโก่ง
การฝังเข็มแก้ ขาโก่ง รวมถึงอกไก่ ขาแปล กระดูกสันหลังเอส เป็นวิธีการทางธรรมชาติ โดยไม่ต้องผ่าตัดและพึ่งยาใดๆ ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน ร่วมกับ กายภาพบำบัด ดังนั้นผลของการรักษา จึง**ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล**
คนไข้ต้องเข้ามาตรวจและปรึกษากับคุณหมอเบื้องต้นก่อนค่ะ
สาเหตุของการขาโก่ง
สาเหตุอื่นที่สำคัญที่พบว่าเป็นสาเหตุของ ขาโก่ง ได้แก่
- ความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด โดยที่ไม่มีสาเหตุผิดปกติจากสาเหตุอื่นเลย และการโค้งงอคงที่ตั้งแต่ อายุ 2 ปีขึ้นไป (ส่วนใหญ่ คนที่ขาโก่งตั้งแต่เด็กจนโต มักเกิดจากสาเหตุนี้)
- โรคกระดูกอ่อน ( Ricket ) ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดความผิดปกติของการสร้างกระดูกเนื่องจากขาดสารบางอย่าง เช่น แคลเซียม ฟอสเฟต อัลคาไลน์ฟอสฟาเตส วิตามินดี ไม่เพียงพอที่จะสร้างกระดูก ทำให้กระดูกอ่อน บาง ทำให้มีการโค้งงอของกระดูกได้ ควรไปพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัย โรคไตบางชนิดก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะนี้ซึ่งเจอได้พอสมควร
- โรคความผิดปกติของกระดูกโดยตรง เช่น achondroplasia, metaphyseal dysostosis, enchondromatosis, multiple exostosis, rheumatiod arthritis เป็นต้น
- การบาดเจ็บต่อ กระดูกอ่อนด้านในของ กระดูกต้นขา ( epiphyseal injury of medial site of upper epiphyseal plate ) ข้างใดด้านหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง ทำให้มีการปิดของกระดูกเร็วกว่าปกติ ทำให้แนวของกระดูกผิดไป จึงโค้งงอขึ้น
- ความผิดปกติของ endochondral ossification ของ proximal tibia ที่ posterior medial aspect ของ growth plate และ medial portion ของ epiphysis ที่อยู่ใกล้เคียง ทำให้เกิดการหมุน และการผิดรูปของกระดูกขึ้น
การทดสอบ
การทดสอบว่าขาโก่งหรือไม่ ทำโดยให้เด็กนอนเหยียดขาตรง ตาตุ่มชิดติดกัน จับเข่าให้ กระดูกสะบ้าหัวเข่าทั้ง 2 ข้างหันตรงไปทางหน้า ระยะ ระหว่าง กระดูกหัวเข่า (medial femoral condyle) ด้านในของเข่าไม่ควรเกิน 5 ซม. ถ้ามากกว่า 5 ซม.และเด็กอายุมากกว่า 2 ปี ควรหาสาเหตุอื่นที่ทำให้เข่าโค้งออก
ขั้นตอนในการรักษา
- พบแพทย์เพื่อตรวจเช็คร่างกายและบันทึกข้อมูลส่วนตัวเพื่อประวัติ
- เปลี่ยนชุดของทางคลินิกจัดเตรียมไว้ ถ่ายรูป ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง
- ฝังเข็มเพื่อช่วยกระตุ้นการทำงานของส่วนต่างๆของร่างกาย
- อบตัวด้วยสมุนไพรจีน (สูตรเฉพาะของไป๋เฉ่า) เพื่อช่วยการไหลเวียนของโลหิตดีขึ้นและที่สำคัญคือช่วยในการเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและข้อต่อของกระดูกจุดต่างๆ
- เข้าโปรแกรมปรับโครงสร้างกระดูก ของแต่ละบุคคลภายใต้การดูแลของคุณหมอ
- รับประทานยาสมุนไพรจีนช่วยปรับความสมดุลของร่างกาย 60 วัน / คอร์ส
ขอแนะนำและข้อห้ามในการรักษา
- ไม่ควรสวมรองเท้าส้นสูง
- ไม่ควรยกของหนักมากๆ
- ออกกำลังกายเบาๆ สม่ำเสมอ
- ไม่ควรนั่งขัดสมาธิ
สนใจสามารถติดต่อนัดตรวจสุขภาพได้ทุกสาขาค่ะ
สาขาพระโขนง 088-566-6623
สาขานวลจันทร์ 099-323-6269
สาขาราชพฤกษ์ 093-969-2391
สาขาประชาชื่น 084-285-4663
สาขาเชียงใหม่ (รวมโชค) 091-566-1623
HotLine : 062-264-6563
Line: @paichao
www.paichaoclinic.com
Facebk: Paichao.Clinic
IG: PaichaoClinic