เวลา 01.00 – 03.00 เป็นช่วงเวลาของ “ตับ”
หน้าที่ของตับ ในทางการแพทย์แผนจีน
ในศาสตร์การแพทย์แผนจีนนั้น “ตับ” เป็นอวัยวะที่สำคัญยิ่งในการดูแลสารจำเป็นต่างๆในร่างกายให้ไหลเวียนได้เป็นปกติ “ตับ” ทำหน้าที่การดูแลการระบาย รวมถึง การย่อย การดูดซึมสารอาหาร การไหลเวียนของลมปราณ (气), เลือด (血), การมีประจำเดือน( 月经 ), น้ำและของเหลว ( 津液), ตลอดทั้งสภาวะอารมณ์และจิตใจ (情志)
ควรปฏิบัติตัวอย่างไร ในช่วงเวลานี้
ในช่วงเวลานี้ร่างกายควรนอนหลับอย่างเต็มที่ หากภาวะการนอนหลับในช่วงนี้ไม่ดี (นอนไม่หลับ, นอนคิดเรื่องต่างๆ, หลับๆตื่นๆ, ไม่นอนในช่วงเวลานี้) จะทำให้การทำงานของตับเสียสมดุลไป
อาการ เมื่อตับเสียสมดุล
การขับระบายสารชีวเคมีของร่างกายจะได้รับผลกระทบ ก่อให้เกิดอาการต่างๆ เช่น
- อารมณ์จิตใจไม่ผ่องใส เมื่อตื่นขึ้นมาจะรู้สึกซึมเศร้า หงุดหงิดโมโหง่าย เครียด ปวดศีรษะ ไม่สดชื่นตลอดวัน
- การไหลเวียนของลมปราณและเลือดติดขัด จะมีอาการจุก เสียด เจ็บ บริเวณชายโครง เกิดก้อนบวม
- การไหลเวียนของสารน้ำในร่างกายติดขัด ทำให้มีอาการบวมน้ำ ท้องมาน มีเสลดและเสมหะค้างในร่างกาย
- ระบบการย่อยอาหารผิดปกติรู้สึกเหมือนมีลมในกระเพาะอาหารมากขึ้น ท้องเจ็บตึง ชอบถอนหายใจ เรอเปรี้ยว ปากขม
- ความผิดปกติของประจำเดือน เช่น ประจำเดือนมาไม่ตรงกำหนด มีอาการปวดประจำเดือน ประจำเดือนมาไม่ปกติ ไม่มา หรือมามากกว่าปกติ
- การควบคุมการหลั่งของอสุจิ เช่น ควบคุมการหลั่งอสุจิไม่ได้ ภาวะการหลั่งเร็ว หรือ ไม่หลั่งอสุจิ
การรักษาเมื่อมีอาการข้างต้น
การฝังเข็ม เพื่อปรับสมดุลของตับ เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดทางหนึ่งที่รักษาได้ตรงจุด ทั้งนี้ควรได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์จีนผู้ชำนาญการ
สนใจสามารถติดต่อนัดตรวจสุขภาพได้ทุกสาขาค่ะ
สาขาพระโขนง 088-566-6623
สาขานวลจันทร์ 099-323-6269
สาขาราชพฤกษ์ 093-969-2391
สาขาประชาชื่น 084-285-4663
สาขาเชียงใหม่ (รวมโชค) 091-566-1623
HotLine : 062-264-6563
Line: @paichao
www.paichaoclinic.com
Facebk: Paichao.Clinic
IG: PaichaoClinic
นาฬิกาชีวิต: ลำไส้เล็ก
เวลา 13.00 – 15.00 เป็นช่วงเวลาของ “ลำไส้เล็ก” เวลาของลำไส้เล็ก ไป๋เฉ่า สหคลินิก...
นาฬิกาชีวิต: หัวใจ
เวลา 11.00 – 13.00 เป็นช่วงเวลาของ “หัวใจ” เวลาของหัวใจ เคยสังเกตุไหมคะ !!! ว่าอะไรที่มันสำคัญมากๆ...
นาฬิกาชีวิต: ม้าม
เวลา 09.00 – 11.00 เป็นช่วงเวลาของ “ม้าม” ม้าม ในทางแพทย์จีน เป็นอวัยวะที่สำคัญอันดับ 2 ในร่างกายของเราเลยนะคะ...
นาฬิกาชีวิต: กระเพาะอาหาร
เวลา 07.00 – 09.00 เป็นช่วงเวลาของ “กระเพาะอาหาร” หลังจากที่เราได้ขับถ่ายออกไปในช่วงเช้าแล้วนั้น...
นาฬิกาชีวิต: ลำไส้ใหญ่
เวลา 05.00 – 07.00 เป็นช่วงเวลาของ “ลำไส้ใหญ่” หน้าที่ของลำไส้ใหญ่ ในทางการแพทย์แผนจีน ช่วงนี้เป็นเวลาเหมาะแก่การ...
นาฬิกาชีวิต: ปอด
เวลา 03.00 – 05.00 เป็นช่วงเวลาของ “ปอด” หน้าที่ของปอด ในทางการแพทย์แผนจีน ปอด มีหน้าที่สนองลมปราณและควบคุมการหายใจ...
นาฬิกาชีวิต: ตับ
เวลา 01.00 – 03.00 เป็นช่วงเวลาของ “ตับ” หน้าที่ของตับ ในทางการแพทย์แผนจีน ในศาสตร์การแพทย์แผนจีนนั้น “ตับ”...
นาฬิกาชีวิต
ตารางนาฬิกาชีวิต (Body-Clock) ไป๋เฉ่า สหคลินิก ได้คัดมาจากศาสตร์การแพทย์แผนจีน ซึ่งเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก...