Hotline::062-264-6563

รักษาด้วยวิธีทางธรรมชาติ ฝังเข็มตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน เพื่อช่วยให้เลือดลมไหลเวียนดี อันเป็นสาเหตุหลักของอาการปวดหัว รวมถึงการปวดหัวไมเกรน โดยการรักษาอาจรวมถึงโภชนาการที่เหมาะกับแต่ละบุคคลตามธาตุ
อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาและผลของการรักษาจะขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล คนไข้ต้องเข้ามาตรวจและปรึกษากับคุณหมอผู้เชี่ยวชาญก่อนรับการรักษา

สาเหตุ ปวดหัว ไมเกรน

อาการปวดศีรษะเกิดได้จากหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยภายในสมองของผู้ป่วย และปัจจัยภายนอก แต่ละส่วนยังสามารถแยกออกเป็นโรคได้อีกหลายชนิด สำหรับสาเหตุของการปวดศีรษะที่เกี่ยวกับสมองและระบบประสาท สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

 

  1. การปวดศีรษะที่มีสาเหตุจากในสมอง (ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของเนื้อสมอง) เช่นเนื้องอกในสมอง เลือดออกในสมอง ความดันสมองเพิ่มผิดปกติ ภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ  เป็นต้น โดยสามารถตรวจได้จากการตรวจร่างกายทางสมอง การซักประวัติผู้ป่วย ถึงรายละเอียดของการปวดศีรษะ ลักษณะการปวด ตำแหน่ง เวลาที่เกิดอาการ ระยะเวลาการปวด ความรุนแรง เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก และเมื่อพบข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน คุณหมอจะตรวจเพิ่มเติมด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (Magnetic Resonance Imaging : MRI), การตรวจคอมพิวเตอร์สมอง (Computerized Tomography : CT Scan) หรือการเจาะหลังเพื่อหาสาเหตุของโรค
  2. การปวดศีรษะแบบไม่พบสาเหตุชัดเจน โดยโรคที่พบบ่อย ได้แก่ ไมเกรน การปวดหัวจากกล้ามเนื้อเกร็งตัว
ปวดหัว ไมเกรน

อาการ และการรักษา ปวดหัว ไมเกรน

อาการปวดศีรษะ มีลักษณะอาการที่แตกต่างกัน

  • ไมเกรน (Migraine) คือ โรคของระบบการรับความรู้สึกของเส้นเลือดไวผิดปกติ จึงส่งผลให้เกิดอาการปวดตุ้บ ๆ ปวดศีรษะด้านใดด้านหนึ่ง ไมเกรนมีอาการเฉพาะตัวคือ ปวดตุ้บ ๆ ปวดรุนแรง ปวดติดต่อกัน 4-72 ชม. ปวดข้างเดียว หรือย้ายข้างไปมาหรือย้ายตำแหน่ง เป็นๆ หายๆ ซึ่งไมเกรนจะมีความสัมพันธ์กับสิ่งกระตุ้น เช่น รอบเดือน อาหารบางชนิดและอาจมีสัญญาณนำที่เรียกว่า “ออร่า”
  • การปวดหัวจากกล้ามเนื้อเกร็งตัว (Tension-type headache) จะมีอาการปวดเป็นประจำ ปวดตื้อๆ หนักๆ ที่ขมับ หน้าผาก ทั่วศีรษะ ปวดช่วงที่อากาศร้อน บ่ายๆ เย็นๆ หลังจากทำงานมานานๆ สาเหตุของโรคเกิดจากการใช้สายตามาก นั่งทำงานนานๆ เครียด การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ

แนวทางการรักษาจึงสามารถจำแนกออกได้หลายส่วน ทั้งการรักษาด้วยยา การผ่าตัด และการรักษาโดยไม่ใช้ยา

แนวทางการรักษา ฝังเข็มไมเกรน

เมื่อตรวจวินิจฉัยและทราบสาเหตุของการปวดศีรษะแล้ว แพทย์จีนจะพิจารณารักษาตามอาการ และสำหรับการรักษาการปวดศีรษะแบบไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การรักษาทางยา และการรักษาโดยการฝังเข็ม

ในร่างกายของเราจะมีจุดต่างๆ ที่สะสมไปด้วยพลังอวัยวะภายใน พลังประสาทในร่างกาย จุดเชื่อมเส้นลมปราณ เมื่อฝังเข็มลงไปจะเชื่อมไปยังจุดต่างๆ ซึ่งการฝังเข็ม จะมีได้หลายลักษณะ ทั้งการกระตุ้น การเพิ่ม การเสริม การถ่ายออก(ระบาย) การหน่วง การทะลวงพลัง ซึ่งโดยทั่วๆไปจะเป็นการส่งผ่านพลังงาน เพื่อไปกระตุ้นเซลล์ ไปสู่ระบบประสาทต่างๆ ในร่างกาย ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ซึ่งคนไข้บางคนต้องรักษาควบคู่กับการทานยาจีน หรือการนวด บางคนฝังเข็มครั้งเดียวก็รักษาหายได้ทันที แต่ในบางคนก็ต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง และต้องดูแลรักษาตัวเองให้ดีอีกด้วย

ไป๋เฉ่า คลินิก

สนใจสามารถติดต่อนัดตรวจสุขภาพได้ทุกสาขาค่ะ

สาขาพระโขนง     088-566-6623
สาขานวลจันทร์    099-323-6269
สาขาราชพฤกษ์    093-969-2391
สาขาประชาชื่น     084-285-4663
สาขาเชียงใหม่ (รวมโชค)  091-566-1623

HotLine   : 062-264-6563
Line: @paichao

www.paichaoclinic.com
Facebk: Paichao.Clinic
IG: PaichaoClinic